ไขข้อสงสัยส่วนประกอบของเครื่องปั่นไฟ (Generator) มีอะไรบ้าง

สวัสดีครับสมาชิกทุกท่านหลายๆท่านที่ใช้งานเครื่องปั่นไฟ (generator) นั้นอย่างที่ทราบกันครับว่าเครื่องปั่นไฟมีข้อดีมากมาย  ในวันนี้พรีเมียมจะพาทุกท่านมาไขข้อสงสัยกันว่า ส่วนประกอบของเครื่องปั่นไฟ (generator) แต่ละตัวนั้นมีหน้าที่การทำงานอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันได้เลยครับ 

ส่วนประกอบของเครื่องปั่นไฟ (Generator) มีอะไรบ้าง

 

เครื่องยนต์

เครื่องยนต์เป็นตัวเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าให้กับเครื่องปั่นไฟ (generator) ประเภทเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ของเครื่องปั่นไฟมีหลากหลายชนิด เช่นเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ก็จะใช้น้ำมันดีเซล ในขณะที่เครื่องยนต์ขนาดเล็กใช้เชื้อเพลิงเบนซิน หรือในบางรุ่นสามารถใช้เชื้อเพลิงได้ทั้งคู่ทั้งดีเซลและแก๊สในโหมดการทำงานแบบเชื้อเพลิงสองชั้น อัลเทอร์เนเตอร์

เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปั่นไฟที่ผลิตไฟฟ้าจากอินพุตของเครื่องยนต์ประกอบด้วยชิ้นส่วนที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ซึ่งส่วนประกอบต่างๆสามารถทำงานร่วมกันได้ทำให้สัมพันธ์กันระหว่างสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าจึงทำให้เครื่องปั่นไฟเกิดกระแสไฟฟ้า

ถังน้ำมันเชื้อเพลิง

โดยปกติถังน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องปั่นไฟนั้นสามารถรองรับปริมาณให้พอกับการใช้งาน 6-8 ชั่วโมง ควรตรวจสอบถังน้ำมันเชื้อเพลิง หากเกิดสนิม ผุ พัง ควรแก้ไขทันที 

ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้า

เป็นอุปกรณ์ที่ควบคุมแรงดันไฟฟ้าขาออกของเครื่องปั่นไฟ (generator) เป็นกระบวนการควบคุมแรงดันไฟฟ้าแบบวัฎจักร จนเครื่องปั่นไฟเริ่มผลิตแรงดันไฟฟ้าขาออกเทียบเท่ากับความสามารถในการทำงานเต็มที่ เมื่อเอาต์พุตของเครื่องปั่นไฟเพิ่มขึ้น ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าก็จะผลิตกระแสไฟฟ้าน้อยลง เมื่อเครื่องปั่นไฟทำงานเต็มที่ ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าก็จะเข้าสู่โหมดสมดุลและผลิตกระแสตรงเพียงพอที่จะรักษาเอาต์พุตของเครื่องปั่นไฟ ให้อยู่ในระดับการทำงานเต็มที่

ระบบระบายความร้อนและไอเสีย

เครื่องปั่นไฟ (generator) จำเป็นต้องได้รับการระบายความร้อนหากใช้ในระยะเวลายาวนาน เช่นเดียวกับรถยนต์ที่ต้องมีระบบระบายความร้อน ควรหมั่นตรวจสอบปริมาณน้ำหล่อเย็นสม่ำเสมอ ทำความสะอาดระบบระบายความร้อนของเครื่องปั่นไฟทุก (generator) 600 ชั่วโมง ควรวางเครื่องปั่นไฟให้มีพื้นที่ตั้นต่ำ 3 ฟุต เพื่อให้อากาศถ่ายเทดีและไม่เกิดการสะสมความร้อนของเครื่องปั่นไฟมากเกินไป

ควันไอเสีย

เครื่องปั่นไฟ (generator) นั้นจำเป็นต้องมีท่อไอเสียที่เกิดการการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ควรมีพื้นที่ระบายอากาศที่เพียงพอ เพื่อป้องกันควันจากไอเสียที่เกิดขึ้น  ก่อนติดตั้งเครื่องปั่นไฟนั้น จำเป็นต้องตรวจสอบพื้นที่นั้นๆ ว่าสามารถต่อท่อระบายอากาศได้ดีหรือไม่

ระบบหล่อลื่น

เครื่องปั่นไฟมีชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ที่ต้องเคลื่อนไหว ทำใหชิ้นส่วนต่างๆเกิดการสึกหรอ ดังนั้นควรใช้น้ำมันหล่อลื่นที่ดี เพื่อลดการสึกหรอ และช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องปั่นไฟ (generator) ควรตรวจสอบปริมาณน้ำมันหล่อลื่นทุก 8 ชม หลังการใช้งาน และเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นทุก 500 ชั่วโมงหลังจากใช้งานเครื่องปั่นไฟ

แบตเตอรี่

แบตเตอรี่มีความจำเป็นในเครื่องปั่นไฟ หมั่นตรวจสอบให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา หากเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถใช้งานเครื่องปั่นไฟได้ทันที ควรตรวจสอบปริมาณน้ำกลั่นหากเป็นแบตเตอรี่ที่เป็นชนิดเติมน้ำกลั่น

แผงควบคุม

แผงควบคุมจะสตาร์ทเครื่องยนต์ของเครื่องปั่นไฟอัตโนมัติ และหากไฟฟ้ากลับมาใช้งานได้ปกติ เครื่องปั่นไฟ (generator) ก็จะปิดการใช้งานอัตโนมัติ

มาตรวัดเครื่องยนต์ เป็นตัวช่วยให้เครื่องปั่นไฟ (generator) สามมรถตรวจเช็คค่าต่างๆได้ เช่นแรงดันน้ำมัน อุณหภูมิของน้ำหล่อเย็น แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ การวัดเหล่านี้สามารถทำให้เครื่องปั่นไฟ (generator) สามารถปิดการทำงานได้อย่างอัตโนมัติ

ชุดการประกอบติดตั้งภายนอก

เครื่องปั่นไฟ (generator) ทุกประเภท ออกแบบมาให้ฐานตัวเครื่องปั่นไฟสามารถรับโครงสร้างและต่อสายดินได้ เพื่อความปลอดภัยขณะใช้งาน

จบแล้วนะครับสำหรับบทความเรื่อง ไขข้อสังสัยส่วนประกอบของเครื่องปั่นไฟ (generator) มีอะไรบ้าง บริษัทพรีเมียม อิควิปเม้นท์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด มีบริการจำหน่าย ติดตั้ง ซ่อมบำรุงเครื่องปั่นไฟ Generator) โดยทีมงานมืออาชีพ พร้อมบริการและรับประกันหลังการบริการ หากท่านใดสนใจสามารถคลิกลิงก์เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยครับ

 📌 สอบถามเพิ่มเติมที่::

📲 Line OA : @premiumpr หรือ https://lin.ee/3rDO9VSSV

📞 Tel : (02) 919-8900

🌏 WEBSITE :https://www.premium.co.th

⏰ เวลาทำงาน :  จันทร์-ศุกร์ เวลา 08:30-17:30