หลังคาของถังเก็บน้ำมีกี่ประเภท ?

สวัสดีค่ะทุกท่าน วันนี้พรีเมี่ยมจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับหลังคาของถังเก็บน้ำหรือแทงค์ (Tank) (สำหรับท่านใดที่สงสัยว่าถังเก็บน้ำคืออะไร สามารถอ่านได้ที่บทความนี้ค่ะ : https://www.premium.co.th/2022/05/26/tank-details/ ) ว่าแต่หลังคาของถังเก็บน้ำจะมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบค่ะ 

หลังคาของถังเก็บน้ำหรือแทงค์ (Tank) มีกี่ประเภท ?

หลังคาของถังเก็บน้ำหรือแทงค์ (Tank) มี 4 ประเภท ได้แก่

  1. หลังคาแผ่นโพรไฟล์รางน้ำอลูมิเนียม (Trough Deck Roof)
  2. หลังคาอลูมิเนียมรูปแบบโครงถักสามมิติ (Geodesic Dome Roof)
  3. หลังคาเมมเบรนกักเก็บก๊าซแบบสองชั้น (Double Membrane Gas Holder)
  4. หลังคาชนิดโครงสร้างแข็ง (Tapered Beam and External Beam Roofs)

1.หลังคาแผ่นโพรไฟล์รางน้ำอลูมิเนียม (Trough Deck Roof)

หลังคาแผ่นโพรไฟล์รางน้ำอลูมิเนียม (Trough Deck Roof) วัสดุของแผ่นหลังคาจะทําจากแผ่นอลูมิเนียม ขึ้นรูปโพรไฟล์รางน้ำ (Trough Deck Profile) มีข้อดีคือ ทนทานต่อการกัดกร่อน และทนทานต่อสภาพอากาศมากกว่าแผ่นเหล็กหลังคาเคลือบสังกะสีทั่วไป ในส่วนของโครงหลังคาผลิตจากโครงสร้างเหล็ก เคลือบสีอิพ็อกซี มีการออกแบบโครงสร้างรับแผ่นหลังคาโดยไม่ต้องใช้เสาค้ำยันภายในถัง เพื่อลดปัญหาการผุกร่อนของโครงสร้างค้ำยัน ลดความกังวลต่อปัญหาการเกิดสนิมหรือการกัดกร่อนของโครงสร้าง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มอายุการใช้งานให้ยาวนานมากขึ้นด้วยค่ะ 

2.หลังคาอลูมิเนียมรูปแบบโครงถักสามมิติ (Geodesic Dome Roof)

หลังคาอลูมิเนียมรูปแบบโครงถักสามมิติ (Geodesic Dome Roof) คือ หลังคาที่นําเอารูปทรงเรขาคณิตมาประยุกต์ออกแบบเป็นโครงสร้าง โดยใช้เป็นรูปทรงของสามเหลี่ยมด้านเท่ามาเชื่อมต่อกันให้เป็นรูปทรงโดม วัสดุที่ใช้ผลิตโครงสร้างถักสามมิติและแผ่นหลังคาผลิตจากอลูมิเนียม จึงมีน้ำหนักเบา

แต่สามารถรับน้ำหนักได้มาก หลังคาอลูมิเนียมรูปแบบโครงถักสามมิตินี้ จะสามารถอยู่ทรงได้ด้วยตัวเอง (Self- Support Roof) โดยไม่ใช้เสาค้ำยัน และสามารถออกแบบรองรับความกว้างของเส้นผ่านศูนย์กลางถังได้มากกว่า 100 เมตรค่ะ

3.หลังคาเมมเบรนกักเก็บก๊าซแบบสองชั้น (Double Membrane Gas Holder)

หลังคาเมมเบรนกักเก็บก๊าซแบบสองชั้น (Double Membrane Gas Holder) วัสดุของแผ่นหลังคาทําจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์เคลือบผิวด้วย PVC หรือ PVDF มีข้อดีคือ มีความแข็งแรงทนทาน รองรับแรงดึงและแรงเฉือนได้สูงมาก ในส่วนของเมมเบรนที่ใช้มีการเคลือบสารป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) และสารเคลือบ ป้องกันการกัดกร่อนของก๊าซชีวภาพ มีการออกแบบให้ประกอบด้วยเมมเบรน 2 ชั้น เพื่อแยกหน้าที่การทํางาน โดยเมมเบรนชั้นใน (Inner Membrane) จะทําหน้าที่ กักเก็บก๊าซ และเมนเบรนชั้นนอก (Outer Membrane) จะทําหน้าที่รับแรงลม ด้วยการเป่าอากาศให้พองตัวตลอดเวลา สามารถออกแบบให้รับแรงลมได้สูงถึง 150 กม./ชม. ค่ะ

4.หลังคาชนิดโครงสร้างแข็ง (Tapered Beam and External Beam Roofs)

หลังคาชนิดโครงสร้างแข็ง (Tapered Beam and External Beam Roofs) เป็นหลังคาที่ออกแบบให้ใช้งานกักเก็บของเหลวได้หลากหลายประเภท และ สามารถกักเก็บก๊าซชีวภาพ (Biogas) ได้ วัสดุของแผ่นหลังคาจะผลิตจากแผ่นเหล็ก เคลือบผิวแบบหลอมละลายด้วยผงแก้ว (Glass-Fused-to-Steel) ประกอบเข้ากับโครงสร้างแข็งด้านนอกที่ผลิตจากเหล็กโครงสร้างรูปพรรณจุ่มสังกะสีร้อน (Hot Dipped Galvanized Steel Structure) สามารถออกแบบ และผลิตให้รองรับความดันก๊าซภายในถังได้สูงถึง 50 มิลลิบาร์ และสามารถติดตั้งอุปกรณ์ประกอบถัง ได้แก่ วาล์วระบายแรงดันก๊าซ หรือ ชุดใบกวน พร้อมมอเตอร์ สําหรับใช้เป็นถังปฏิกรณ์ (Reactor Tank) ได้

จบแล้วนะคะสำหรับการแนะนำ หลังคาของถังเก็บน้ำมีกี่ประเภท ? บริษัทบริษัทพรีเมี่ยม อิควิปเม้นท์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เรามีบริการจำหน่ายถังเก็บน้ำหรือแทงค์ (Tank) พร้อมทีมช่างเฉพาะทางคอยบริการ หากท่านใดสนใจสามารถคลิกลิงก์เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยค่ะ

📌 สอบถามเพิ่มเติมที่::

📲 Line OA : @premiumpr หรือ https://lin.ee/3rDO9VSSV

📞 Tel : (02) 919-8900

🌏 WEBSITE :https://www.premium.co.th

⏰ เวลาทำงาน :  จันทร์-ศุกร์ เวลา 08:30-17:30