10 ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อยในระบบอัดอากาศ!!

สวัสดีค่ะ วันนี้พรีเมี่ยมได้รวบรวม 10 ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อยในระบบอัดอากาศ!! มาให้ทุกท่านได้ไขข้อสงสัยไปพร้อมๆ กันค่ะ ว่าแต่จะมีปัญหาอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบค่ะ

1.สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำปนมากับน้ำมันเกิดจากอะไร ?

สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำปนมากับน้ำมันเกิด อาจจะเกิดจากอุณหภูมิของ Separator แทงค์ต่ำไป จึงทำให้เกิดความชื้น Condensed กลายเป็นน้ำ หรืออีกกรณีหนึ่งอาจเกิดจากน้ำเกิดการไหลย้อนกลับจากการวาง Piping (ท่อ)ไม่ถูกต้อง หรืออีกกรณีที่เครื่องเป็น Water Cool อาจจะเกิดการรั่วซึม ทำให้น้ำเข้าไปปนในน้ำมันได้

2. น้ำมันไหลเข้ากรองอากาศ = เช็ควาล์วเสียใช่หรือไม่ ?

อาจเกิดจาก 3 กรณีได้แก่ 

กรณีที่ 1  เมื่อเราหยุดเครื่องอัดอากาศอาจจะทำให้เกิดแรงดันที่ทำให้น้ำมันย้อนกลับมาทางด้านกรองอากาศ จึงส่งผลให้เช็ควาล์วเสีย

กรณีที่ 2 คือ อาจเกิดจาก Blow Down Valve เวลาเครื่อง Unload โบลดาววาล์ว (Blow Down Valve) จะเป็นตัวปล่อยแรงดันในถัง หากปล่อยไม่ทันอาจจะทำให้แรงดันย้อนกลับ ทำให้น้ำมันไปเข้าสู่กรองอากาศได้ 

กรณีที่ 3 คือ ตัว Oil Stop Valve เป็นตัวสำหรับการป้องกันเวลาไฟฟ้าดับ หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เครื่องหยุดโดยไม่ตั้งใจ  ทำหน้าที่บล๊อคไม่ให้น้ำมัน ย้อนกลับไปสู่ที่กรองอากาศ ในกรณีที่ Oil Stop Valve ปิดไม่อยู่ หรือรั่ว ก็อาจจะนำไปสู่ปัญหาน้ำมันย้อนเข้าตัวกรองได้

3. กรณี เซทค่า Load กับ Unload ไม่ต่างกันมาก แล้วหากเครื่องทำการ Start กับ Stop บ่อยๆเครื่องจะเป็นอะไรหรือไม่

การเซท Load unload – online offline แรงดันของเครื่อง โดยปกติเราจะเซทอย่างต่ำ 10 Psi หากเราเซทต่ำมากๆ จะทำให้เกิดปัญหาการ Load Unload ค่อนข้างบ่อย ซึ่งถือว่าเป็นผลเสียทั้งเรื่องของ การสึกหรอ หรือการ Bearing  คล้ายๆกับการเหยียบคันเร่งรถยนต์ หากเราทำการเร่งๆ เบรคๆ สลับกันบ่อยๆ ก็มีผลโดยตรงกับอายุการใช้งานแน่นอน ดังนั้น เราควรจะตั้งให้เครื่องเดินได้อย่าง Smooth และควรเช็คดูว่าเครื่องใหญ่เกินไป หรือแทงค์แล็กเกินไปหรือไม่ก็เป็นไปได้

4. ถ้า Check Valve ที่ออกจาก Air End ชำรุดหรือเสียหาย ทำให้มีการไหลย้อน มีโอกาสทำให้เกิด Cavitation ที่ Screw หรือไม่?

เมื่อเกิดปัญหาการไหลย้อน Air End จึงพยายามจะอัดกลับไป เมื่อมันมาเจอกัน จะทำให้เกิดแรงบิด มี Load ที่มากขึ้น จากเคสตัวอย่างที่เคยพบเจอ ปรากฏว่า เพลาของตัว Air End ขาด เนื่องจากเกิดการบิดหมุนคนละทางของสกรูกับมอเตอร์  ดังนั้นเราควรทำการตรวจสอบ Check Valve อย่างสม่ำเสมอ

5.  ระบบ Drain ที่ Receiver Tank ใช้เป็นแบบ Mechanical หรือ แบบ Timer แบบไหนดีกว่ากัน

ระบบ Drain ที่ Receiver Tank โดยปกติ จะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบ Mechanical หรือ ลูกลอย ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องการอุดตัน ก็สามารถทำงานได้ดี แต่ส่วนใหญ่มักเจอปัญหาการอุดตันจากสิ่งสกปรก ทำให้ในบางครั้งลูกลอยไม่ทำงาน  

ส่วนแบบ Timer Drain มันไม่ได้สนใจว่าจะมีน้ำหรือไม่มีน้ำ เพราะมันจะทำงานตามที่เวลาที่เราตั้งไว้ ซึ่งข้อเสียก็คือเราต้องสูญเสียลม เมื่อมันเปิดปิด ทุกๆ นาที อาจจะสูญเสียลมไปเป็นจำนวนมาก หากคิดเป็นต่อปี เป็น Cost ซึ่งเราอาจจะเอาไปซื้อ Auto Drain ที่เป็น Zero Lost แบบดีๆได้เลย 

ดังนั้นเราต้องดูที่ Air Balance Line ให้ดี และต้องติดตั้งให้ถูก ซึ่งทั้ง 2 แบบย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป

6. มีวิธีเช็ค check valve อาการจะเป็นอย่างไร

  1. เช็คได้จากการเกิด Oil Roll back  
  2. เช็คได้จากการ Overload Shut Down

7. ระหว่างระบบ Oil Flood กับระบบ Oil Free แบบไหนดีกว่ากัน

ไม่ว่าจะเป็นระบบ Oil Flood หรือระบบ Oil Free เราอาจจะเอามาเทียบกันตรงๆไม่ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับ “ความจำเป็น” ของประเภทงานนั้นๆ ว่าจำเป็นต้องใช้ระบบแบบไหน 

ระบบ Oil Flood มีประสิทธิภาพที่มากกว่า แต่จะมีค่า Consume ที่มากกว่า Oil Free และอาจจะมีน้ำมันปนส่วนระบบ Oil Free จะมีราคาที่สูงกว่า Oil Flood อาจจะมากถึง 3 เท่า แต่ไม่มีน้ำมันเจือปนในอากาศแต่ประสิทธิภาพไม่เท่า Oil Flood  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการนำไปใช้งานด้วยนะคะ

8.เครื่องหยุดทำงาน เกิดจากชุดระบายความร้อนสกปรก  หรือมีปัญหาใช่หรือไม่

โดยปกติเวลาเครื่อง Shutdown ที่ตัวเครื่องจะมี Panel หรือ Code มาให้ว่าการ Shut Down เกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งเราอาจจะต้องดูจากตรงนั้นก่อน แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ตัว Cooler สกปรก เมื่อ Cooler ระบายความร้อนไม่ได้ ก็ทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น

9.น้ำมันที่ใช้เกินอายุจะมีผลเสียกับเครื่องหรือไม่

ถ้าใช้น้ำมันเกินอายุ ย่อมเกิดผลเสียแน่นอน โดยเฉพาะใช้พวก Mineral Oil ซึ่งราคาอาจจะไม่แพงมาก อายุอยู่ที่ไม่เกิน 2000 ชั่วโมง อาจจะส่งผลให้เกิดคราบเกือบทุกส่วนในเครื่องได้ ทำให้เวลาจะเปลี่ยนน้ำมัน อาจจะไม่ใช่เปลี่ยนแค่เปลี่ยนน้ำมัน  แต่อาจจะต้องทำการ Flushing ทำความสะอาด ภายในก่อนที่จะทำการเติมน้ำมันใหม่เข้าไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่คุณภาพน้ำมัน ถ้าหากคุณภาพน้ำมันไม่ดี ก็มักจะเจอปัญหาตามมาภายหลังได้

10. ค่าต่างๆที่ต้องเช็คประจำวัน สามารถเช็คที่เครื่องได้เลยหรือ ต้องเอาเครื่องมือไปตรวจวัดเอง

โดยปกติแล้วการตรวจเช็คประจำวัน เราสามารถตรวจเช็คค่าต่างๆได้จากทางหน้าจอ Controller ได้เลยนอกจากว่ามีอาการผิดปกติ หรือมีสัญญาณไม่ปกติ ก็อาจจะมีเครื่องมือตรวจวัดในรายละเอียดมากขึ้น

จบแล้วนะคะสำหรับบทความเรื่อง 10 ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อยในระบบอัดอากาศ!! เมื่อเราทราบถึงปัญหาแล้ว อย่าลืมแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องตามวิธีนะคะ บริษัทพรีเมี่ยม อิควิปเม้นท์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เรามีบริการจำหน่าย ติดตั้ง ให้เช่า ให้คำปรึกษา Air Compressor หรือ เครื่องปั๊มลม โดยทีมงานมืออาชีพมากประสบการณ์ พร้อมบริการทุกท่าน หากท่านใดสนใจสามารถคลิกลิงก์เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยค่ะ

📌 สอบถามเพิ่มเติมที่::

📲 Line OA : @premiumpr หรือ https://lin.ee/3rDO9VSSV

📞 Tel : (02) 919-8900

🌏 WEBSITE :https://www.premium.co.th

⏰ เวลาทำงาน :  จันทร์-เสาร์ เวลา 08:30-17:30