ระบบอัดอากาศคืออะไร? ทำงานอย่างไร ?

 

ระบบลมอัด (Compressed Air System ) คือระบบที่ประกอบไปด้วย

 

  • เครื่องอัดลม(Air Compressor) ทำหน้าอัดลมให้ได้แรงดันที่สูงขึ้นกว่าแรงดันบรรยากาศ ตามที่ต้องการและชุดปรับปรุงคุณภาพลมอัด(Air treatment system) เช่น
  • เครื่องทำลมแห้ง(Air Dryer) เพื่อลดความชื้นในลมอัด
  • ชุดกรองลม(Line filter) เพื่อกรองสิ่งสกปรก เช่นฝุ่น น้ำมัน หรือกลิ่น
  • ชุดระบายน้ำ(auto drain) เพื่อระบายน้ำออกจากระบบลมอัดรวมทั้งส่วนประกอบอื่นๆ ด้วยเช่น
  • ถังลม(Air Tank)
  • ท่อลม(Air Piping)
  • ระบบระบายความร้อน ทั้งแบบ ระบายด้วยอากาศ(Air Cooled) หรือ ด้วยน้ำ(Water Cooled)
  • ระบบความคุมการทำงานของเครื่องอัดอากาศแบบศูนย์กลาง(central control)-ถ้ามี การทำงานของเครื่องอัดลม เบื้องต้น

 

เครื่องอัดลม (Air Compressor) แบ่งได้เป็น2ประเภทหลักๆ ขึ้นกับหลักการอัดลม คือ

 

  • แบบแทนที(Positive Displacement) การอัดลมเกิดขึ้นในชุดอัดลม (Airend) โดยลมจะถูกดูดเข้ามาและบีบอัดให้มีปริมาตรที่เล็กลง ทำให้ได้ลมอัดที่แรงดันสูงขึ้น ปั้มลมประเภทนี้ เช่น ลูกสูบ(Piston) โรตารีสกรู(Rotary screw) เป็นต้น
  • แบบอัดต่อเนื่อง(Continuous Flow)การอัดลมเกิดขึ้นในชุดอัดลม(Airend) โดยลมจะถูกดูดเข้ามาและทำให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นด้วยชุดใบพัด(Impeller)ที่หมุนด้วยความเร็วสูง และหลังจากนั้นลมที่มีความเร็วสูงจะถูกทำให้ช้าลงที่ชุด ดิฟฟิวเซอร์(Diffuser)เพื่อเพิ่มแรงดันให้ได้สูงขึ้น ชุดอัดลม(Airend) อาจมีตั้งแต่ 1,2,3 ชุด(stage) หรือมากกว่าขึ้นกับแรงดันที่ต้องการ ปั้มลมประเภทนี้ เช่น ปั้มลมเทอร์โบ (Centrifugal Air Compressor) เป็นต้น

 

ทุกวันนี้มีการใช้ปั้มลมในเกือบจะทุกภาคอุตสาหกรรม และงานวิศวกรรมต่างๆ เช่น ใช้กับเครื่องมือทุนแรงต่างๆ(Air tools)ใช้กับระบบนิวเมติคส์(Pneumatic system) ระบบควบคุมเครื่องมือวัด (Instruments control system) ระบบลำเลียงด้วยลม(Pneumatic conveyor) เป็นต้น

 

เครื่องอัดลมจะต้องมีต้นกำลังเป็นตัวขับเคลื่อนเช่น มอเตอร์ไฟฟ้า(Electric motor) หรือเครื่องยนต์(Engine) และทั้งแบบ ติดตั้งกับที่(Stationary) ซึ่งมักจะใช้ในภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ หรือ แบบเคลื่อนที่(Portable) ซึ่งใช้ในภาคก่อสร้างหรือที่ๆจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายการใช้งาน

 

การเลือกใช้เครื่องอัดลม (Air Compressor) และระบบลมอัด (Compressed Air System) มีสิ่งที่ต้องพิจารณาเบื้องต้น ดังนี้

 

  1. ปริมาณลมอัด(FAD) หน่วย cfm, m3/min หรือ l/s ที่ต้องการ สูงสุด(Peak),เฉลี่ย(Average), ต่ำสุด(Minimum) เพื่อที่เราจะได้เลือกใช้เครื่องอัดอากาศอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  1. แรงดันใช้งานต่ำสุด(Minimum Pressure) หน่วย bar, psi หรือ kg/cm2 ที่เพียงพอต่อการใช้งาน การเลือกใช้แรงดันสูงเกิน จะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น
  2. คุณภาพลมอัดที่ต้องการ เช่น ลมอัดปราศจากน้ำมันปน(Oil Free) หรือ ลมอัดมีน้ำมันปน(non-oil free)
  3. ปริมาณความชื้นในลมอัด โดยมักจะพิจารณาจาก ค่าPressure Dewpoint ของลมอัด เช่น3 Deg.C, -40 Deg.C หรืออื่นๆเป็นต้น
  4. ประสิทธิภาพการอัด Kw/M3/min, Bhp/100cfm เป็นต้น เครื่องอัดลมที่มีประสิทธิภาพที่ดี จะใช้พลังงานต่ำกว่า ต่อการผลิดลมอัดหนึ่งหน่วย
  5. ระบบระบายความร้อน ด้วยอากาศ(Air Cooled) หรือ ด้วยน้ำ(Water Cooled)
  6. ต้นทุนการใช้งานตลอดอายุการทำงานของเครื่องอัดลม(Life Cycle Cost) ประกอบด้วย
    • ราคาเครื่อง(Investment Cost)
    • ค่าบำรุงรักษา(Maintenance Cost)
    • ค่าพลังงาน(Energy Cost)
  7. ความสามารถในการบำรุงรักษา
  8. การรับประกันและบริการหลังการขาย

 

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >>>>> มารู้จักประเภทปั๊มลม

 
 

 📌 สอบถามเพิ่มเติมที่::

📲 Line OA : @premiumpr หรือ https://lin.ee/3rDO9VSSV

📞 Tel : (02) 919-8900

🌏 WEBSITE :https://www.premium.co.th

⏰ เวลาทำงาน :  จันทร์-เสาร์ เวลา 08:30-17:30